การพัฒนาน้ำมันมะพร้าวขนาดนาโนเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ส้าหรับเส้นผม

หัวข้อวิจัย การพัฒนาน้ำมันมะพร้าวขนาดนาโนเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ส้าหรับเส้นผม

คณะนักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิภา อึ้งไพบูลย์

ดร.ภวิกา มหาสวัสดิ์

นางสาวดวงแข มณีนวล 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ คณะเภสัชศาสตร์ 

ปีที่ได้รับงบประมาณ 2561



การพัฒนาน้ำมันมะพร้าวขนาดนาโนเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ส้าหรับเส้นผม

คณะนักวิจัย รศ.ดร.สุวิภา อึ้งไพบูลย์1

ดร.ภวิกา มหาสวัสดิ์2

น.ส.ดวงแข มณีนวล1

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลต่อการสร้างเม็ดสีเมลานินของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นและกรด ไขมันที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในน้ำมันมะพร้าว และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวในรูปแบบนาโนลิโปโซม          เพื่อนำมาใช้เป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดสี      เมลานินในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับเส้นผม จากการศึกษาพบว่า น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์กระตุ้น            ไทโรซิเนสจากเห็ดสูง กว่ากรดลอริกและกรดโอลิอิก แต่มีฤทธิ์ต่ำกว่ากรดปาล์มิติก การเตรียมน้ำมันมะพร้าวในรูปแบบลิโปโซม ทำให้ฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ไทโรซิเนสเพิ่มข้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05)          โดยขึ้นกับส่วนประกอบและวิธีการเตรียมน้ำมันมะพร้าวและลิโปโซมบรรจุน้ำมันมะพร้าวกระตุ้นการทำงานของไทโรซิเนสภายในเซลล์B16-F10 โดยไม่พบการเพิ่มจำนวนเซลล์ น้ำมันมะพร้าวทำให้ปริมาณ                เมลานินภายในเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05) ในขณะที่ลิโปโซมบรรจุน้ำมันมะพร้าวในช่วงความเข้มข้นที่ใช้ทดสอบซึ่งไม่เป็นพิษต่อเซลล์ไม่ ทำให้ปริมาณเมลานินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นที่ความเข้มข้น 1 mg/mL การเกิดผลที่แตกต่างกันเช่นนี น่าจะเป็นผลมาจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในผนังเมมเบรนลิโปโซม นอกจากนี้ พบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรูปแบบเจลที่พัฒนาขึ้น โดยใช้น้ำมันมะพร้าวร่วมกับน้ำมันมะพร้าวรูปแบบลิโปโซมเป็นสารสำคัญ มีคุณลักษณะและความคงสภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตภัณฑ์บำรุงผม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ประเทศไทย รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการทำงานของ เอนไซม์ไทโรซิเนสจากเห็ด 

Development of Nano-sized Coconut Oil Loaded Liposomes for Hair Care Products

ABSTRACT

 

In this study, effects of coconut oil and major fatty acids in coconut oil on melanin synthesis were investigated. Coconut oil and palmitic acid were found to stimulate mushroom tyrosinase in a dose-dependent manner, while lauric acid and oleic acid exhibited very low activity. In addition, the encapsulation of coconut oil in liposomes showed more potent in tyrosinase activation compared to coconut oil at the same concentration. Coconut oil significantly stimulated intracellular tyrosinase activity and increase intracellular melanin content in B16-F10 melanoma cells without cell proliferation. Although coconut oil loaded liposomes significantly stimulated intracellular tyrosinase, no significant increase of the intracellular melanin content. This might be due to adverse effect of unsaturatated fatty acids which are the principal constituents in liposome membranes. Hair care product contained coconut oil and nano-liposomes loading coconut oil complied the cosmetic properties and the stability of Thai community product standard and possessed the mushroom tyrosinase activator

 

 

1ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2โปรแกรมวิชาชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *