หัวข้อวิจัย การพัฒนาคุณภาพน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเครื่องสำอางที่ได้
มาตรฐานฮาลาล
คณะนักวิจัย นางสาวสิริรัศมิ์ ปิ่นสุวรรณ
นายกมล ปาลรัตน์
นางสุวิภา อึ้งไพบูลย์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ คณะเภสัชศาสตร์
ปีที่ได้รับงบประมาณ 2560
การพัฒนาคุณภาพน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเครื่องสำอางที่ได้
มาตรฐานฮาลาล
คณะนักวิจัย นางสาวสิริรัศมิ์ ปิ่นสุวรรณ1
นายกมล ปาลรัตน์2
นางสุวิภา อึ้งไพบูลย์1
บทคัดย่อ
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (VCO) เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับ OTOP (หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์) ในประเทศไทย โดยทั่วไปวิธีที่ใช้ในการเตรียม VCO โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมขนทางภาคใต้ของประเทศไทย คือ การสกัดเย็น หรือการหมัก เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ย ลงทุนต่ำ และไม่ใช้สารเคมีในการเตรียมอย่างไรก็ตามพบว่ผลิตภัณฑ์ VCO ของชุมชนฯ มีแนวโน้มของการเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ภายใน 1-2 เดือน ในการศึกษานี้ VCO ถูกเตรียมโดยการหมัก ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนตัวแปร ได้แก่ ระยะเวลาการหมัก (24, 36และ 48 ชั่วโมง) อุณหภูมิของกะทิและน้ำที่ใช้ (45 และ 60 °C) รวมทั้งการดูดน้ำเปรี้ยวทิ้งในระหว่างกระบวนการ จากนั้นจะประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพที่สัมพันธ์กับความคงตัวต่อปฏิกิริยาออกชิเดชันของVCO ได้แก่ peroxide value, iodine value and ปริมาณกรดอิสระ จากการศึกษา พบว่า ตัวแปรต่างๆข้างต้น มีผลต่อคุณภาพของ VCO โดยระยะเวลาของการหมัก คือ 36-48 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างอุณหภูมิของกะทิและน้ำที่ 45 และ 60 °C พบว่าการใช้กะทิและน้ำที่ 45 °C ให้ VCO ที่มีสีเหลืองน้อยกว่าและมีระดับของ iodine value and ปริมาณกรดอิสระลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) นอกจากนี้การขจัดน้ำเปรี้ยวทิ้ง ที่เวลา 12 ชั่วโมงของการหมัก สามารถลดระกับของ peroxide value ของ VCOอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) VCO ที่เตรียมได้จากกระบวนการข้างต้นนี้ มีคุณภาพโดยรวมเข้าตามมาตรฐานของ Asian and Pacific Coconut Community (APCC) อีกทั้งมีความคงตัวในระยะเวลา 12 ดือนที่อุณหภูมิห้อง แม้ว่าจะมีระดับของ peroxide value and iodine value เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใน
3 เดือนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวโดยใช้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่เตรียมขึ้นเป็นสารหลักในตำรับ โดยตำรับประกอบด้วย TGI* (PEG-20 Glycery! Trisostearate) 15% เป็นสารลดแรงตึงผิวphenoxy ethanol เป็นสารกันเสีย และ vitamin E acetate เป็นสารต้านออกซิเดชัน ตำรับที่มีได้มีความคงตัวทางกายภาพ เมื่อทดสอบความคงตัวผ่าน heating-cooling cycle (45*C- 24 h, 4°C – 24 h – 1 รอบ)จำนวน 4 รอบ และเมื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพในการล้างเครื่องสำอางพบว่าในสูตรตำรับที่เหมือนกันน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นสามารถล้างเครื่องสำอางได้ดีกว่าน้ำมันแร่อย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05)นอกจากนี้สามารถแทนที่ VCO ในตำรับด้วยน้ำมันผสม ซึ่งประกอบด้วย น้ำมันถั่ว (15%) น้ำมันทานตะวัน(15%) น้ำมันโจโจ้บา (5%) isopropy pamitate (5%) และ VCO (60%) เพื่อให้ตำรับมีความข้นหนืดที่เหมาะสม โดยตำรับที่ประกอบด้วยน้ำมันผสมมีประสิทธิภาพในการชำระล้างไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับตำรับที่ประกอบด้วย VCO
Quality development od virgin coconut oil for halal cosmetic raw material
Abstract
Virgin coconut oil (VCO) is one of community products for OTOP (One Tambon One Product) in Thailand. The common method to produce VCO, especially in southern Thai communities, is wet-extraction or fermentation method since it is easy, low-cost and does not
involve chemical treatment. However, their VCO products tend to be rancid within 1-2 months.
In this study, VCOs were prepared by fermentation method with varying parameters including
fermentation time (12, 36 and 48 h), temperature of coconut milk and water (45 and 60°C), as well as the removal of fermented water during the process. The quality characteristics which related to oxidative stability of VCOs, such as peroxide value, iodine value and free fatty acid content, were then measured. It was found that all those parameters have effect on the quality of VCO. The appropriate time for fermentation was 36-48 h. Comparing between 45 and 60°C, the coconut milk and water at 45C provided VCO with less yellow in color and significantly lower level of iodine value and free fatty acid (p-value < 0.05). In addition, the removal of fermented water at 12 h of fermentation could significantly lower the level of peroxide value of VCO (p-value < 0.05). The VCO prepared by this method has overall quality complied with the standard of the Asian and Pacific Coconut Community (APCC). Moreover, it was stable within 12 month at room temperature, although the level of peroxide value and iodine value were significantly increase within 3months. The formulation development of skin cleansing preparations were performed using VCO as active ingredient. The formulation consisted of TGI” (PEG-20 Glyceryl Trisostearate) 15% as surfactant, phenoxy ethanol as preservative and vitamin E acetate as antioxidant. The VCO formulation was stable after 4 cycles of heating-cooling cycle (45*C- 24 h, 40 C- 24 h – 1 cycle). With the same formulation, VCO showed significantly higher cleaning efficiency than mineral oil (p-value < 0.05). In addition, the VCO could be replaced by the mix oils which consist of almond oil (15%), sunflower oil (15%), jojoba oil (5%6), Isopropyl palmitate (5%) and VCO (60%) to improve the viscosity of the formulation.
1ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2ศูนย์บริการปฏิบัติการทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์