วิทยาเขต | หาดใหญ่ |
คณะ/ ส่วนงาน | สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสหลักสูตร | non degree 842-N01 |
จำนวนหน่วยกิต | 9((4)-15-8) |
ชื่อหลักสูตร | non degree การจัดการระบบกิจการฮาลาล (Halal System Management) |
ชื่อประกาศนียบัตร | การจัดการระบบกิจการฮาลาล (Halal System Management) |
คำอธิบายหลักสูตร non degree ประกอบด้วย
- เนื้อหาชุดวิชา
แนวคิดฮาลาลและฮารอมในกระบวนการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับกิจการฮาลาลในด้านต่างๆ การกำกับ ดูแล ควบคุม และตรวจสอบ กระบวนการผลิตตามหลักมาตรฐานฮาลาล ขั้นตอนและการดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานฮาลาล ทักษะการให้บริการและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพตามหลักฮาลาล - ผลลัพธ์การเรียนรู้ของชุดวิชา เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ของชุดวิชานี้ ผู้เรียนสามารถ
1. อธิบายแนวคิดฮาลาลและฮารอมในกระบวนการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆได้
2. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการฮาลาลในด้านต่างๆได้
3. กำกับ ดูแล ควบคุม และตรวจสอบ กระบวนการผลิตตามหลักมาตรฐานฮาลาลได้
4. ดำเนินการขอใบรับรองมาตรฐานฮาลาลให้สถานประกอบการได้
5. แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพตามหลักฮาลาล
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ชั้นเรียนและภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ ภาคปกติ (จันทร์-ศุกร์)
ภาคปฏิบัติ เรียนที่สำนักงานคณะกรรมการประจำจังหวัดสมุทรปราการ และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย
กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย (รุ่นพิเศษ)
นักศึกษาไทยในต่างประเทศ ที่สำเร็จการศึกษา/คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากกลุ่มประเทศเป้าหมาย ภายในเดือน มิถุนายน 2567
กลุ่มประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ จอร์แดน คูเวต โอมาน อิหร่าน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย โมร็อกโก อียิปต์ ซูดาน แอฟริกาใต้ เยเมน เลบานอน บรูไน
การวัดและประเมินผล
ระดับคะแนน (A, B+, B…, E)
อัตราค่าเล่าเรียนของชุดวิชา (บาท/คน)
การเปิดรับผู้เรียน
- จำนวนรุ่นที่เปิดต่อปี จำนวน 2 รุ่น
- จำนวน 40 คนต่อรุ่น
การจัดการเรียนการสอน
แยกกลุ่มเรียนเฉพาะ
หน่วยงานความร่วมมือ
- สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
- สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการ
- สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา
- คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- สภาอุตสาหกรรม
แนวทางการกำหนดเนื้อหาสาระและโครงสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้
หลักสูตรประกาศนียบัตรการจัดการระบบกิจการฮาลาล มีหน่วยกิตตลอดหลักสูตรรวม 9 หน่วยกิต (285 ชั่วโมง) ประกอบด้วยรายวิชาทฤษฎี จำนวน 4 หน่วยกิต (60 ชั่วโมง) และรายวิชาปฏิบัติในหน่วยฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ จำนวน 5 หน่วยกิต (225 ชั่วโมง) โดยมีหน่วยการเรียนรู้ทั้งหมด 6 หน่วยการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองพัฒนาการจากการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ (Module) | พัฒนาการสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Sub-PLOs) |
1. แนวคิดเรื่องฮาลาล-ฮารอมและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมฮาลาล | อธิบายความรู้ความเข้าใจหลักการด้านฮาลาลและฮารอมในอิสลามได้อย่างถูกต้อง |
2. องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบกิจการฮาลาลขององค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ | สามารถอธิบายเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ด้านฮาลาล ทั้งในและต่างประเทศ |
3. การจัดการมาตรฐานและกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล | สามารถปฏิบัติงาน ตรวจสอบ ควบคุม และกำกับดูแลกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล และสามารถให้คำแนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานฮาลาลในสถานประกอบการได้ |
4. การจัดการองค์กรและระบบเอกสารในการขอใบรับรองและเครื่องหมายรับรองมาตรฐานฮาลาล
| สามารถจัดการเอกสารเพื่อขอใบรับรองและเครื่องหมายรับรองมาตรฐานฮาลาลได้ และสามารถนำองค์ความรู้ไปจัดการองค์กรหรือสถานประกอบการตามมาตรฐานฮาลาล |
5. การตลาดฮาลาล และธุรกิจฮาลาลระหว่างประเทศ | มีความรู้เกี่ยวกับด้านการตลาดฮาลาลทั้งใน และต่างประเทศ รวมถึงสามารถประกอบธุรกิจฮาลาลระหว่างประเทศและการนำเข้า-ส่งออกได้ |
6. จรรยาบรรณและทักษะการปฏิบัติงานของการจัดการระบบกิจการฮาลาล | แสดงออกถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมให้บริการที่ใส่ใจและสอดคล้องกับจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพที่ดีที่เกี่ยวข้องกับกิจการฮาลาลได้ |
ภาคปฏิบัติ |
|
การฝึกปฏิบัติจริงในด้านการตรวจสอบ การควบคุม กำกับดูแล และการให้คำปรึกษา ณ สถานประกอบการในจังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนฝึกปฏิบัติในด้านเอกสารการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการ | สามารถปฏิบัติงานจริงในด้านการตรวจสอบ ควบคุม ในกระบวนการผลิตตามหลักมาตรฐานฮาลาล รวมทั้ง ให้คำปรึกษา และกำกับดูแล ให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานฮาลาลในสถานประกอบการได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณตามวิถีฮาลาล |
รองศาสตราจารย์ ดร. อิสมาแอ อาลี ประธานฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย | |
อาจารย์ ไพศาล พรหมยงค์ ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการ | |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์. ดร. อัสมัน แตอาลี ASST. PROF. DR.ASMAN TAEALI | |
> 2013 Ph.D (fiqh and Usul Fiqh) International Islamic University Malaysia, Malaysia สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ กฏหมายอิสลาม(ชารีอะฮ์)/ฮาลาล คณะวิทยาการอิสลาม ม.อ. ปัตตานี (ผู้อำนวยการสถาบันฮาลาล) | |
รองศาสตราจารย์. ดร. สันทัด วิเชียรโชติ ASSOC. PROF. DR.SANTAD WICHIENCHOT | |
>2005 ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, Thailand สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.อ. หาดใหญ่ (รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร, ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันฮาลาลฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม) | |
ดร. วันอามีนา บอสตัน อลี DR.WANAMINA ฺBOSTON ALI | |
> 2017 Ph.D (Doctor of Business Administration) Victoria University, Australia สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ การจัดการธุรกิจ/ การจัดการไมซ์ คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. หาดใหญ่ (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาองค์กร คณะวิทยาการจัดการ) | |
อาจารย์อริศ หัสมา Aris Hassama | |
> 2011 M.E (Economics) International Islamic University Malaysia, Malaysia สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ เศรษฐศาสตร์อิสลาม/ การกำกับดูแลองค์กรอิสลาม คณะวิทยาการอิสลาม ม.อ. ปัตตานี ประธานหลักสูตรนวัตกรรมธุรกิจอิสลาม คณะวิทยาการอิสลาม |
เจ้าหน้าที่ประสานงานหลักสูตร
มะรอซี ลีเมาะ | marosee.l@psu.ac.th |
082 273 0548 |